Episodes
Thursday Oct 01, 2020
China Market Insights EP.14 Big Data & AI ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพในตลาด China
Thursday Oct 01, 2020
Thursday Oct 01, 2020
MarketingOops! Podcast China Market Insight 14 เรื่อง Big Data & AI ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพในตลาด China
- Big Data และ AI Marketing ในจีน
- รู้จัก DSP คืออะไร
- DSP ทำให้การบิดดิ้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ธุรกิจประเภทไหนที่เหมาะกับการทำ DSP
Tuesday Sep 22, 2020
Tuesday Sep 22, 2020
MarketingOops! Podcast MarTech Episode 14 เรื่อง Insights Live Like a Bangkokian ชวนฟัง How to เจาะกระดองใจคนกรุงเทพฯ
- “ไม่มีเวลา-เหนื่อย-รีบร้อน” Insight คนกรุง
- Convenience ความสะดวกสบายที่คนกรุงเทพฯ โหยหา
- การ Connect ของคนกรุงเทพฯ ทำไมจึงสำคัญ
- บทสรุป Insight คนกรุงเทพฯ
Wednesday Sep 09, 2020
Wednesday Sep 09, 2020
MarketingOops! Podcast Influencer Marketing Episode 11 ว่าด้วยเรื่อง Influencer กับการสร้าง Branding ตัวเองให้ปัง เปิดประตูสู่ม่านธุรกิจ
- ทำความรู้จัก BRAND สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาว Marketer
- Brand อยากร่วมงานกับ “คนดี” และเป็น “มือโปร”
- ความแตกต่างระหว่าง Content Creators VS. Brand Influencer
- คำแนะนำสำหรับ Influencer ในการสร้าง Branding
- อะไรคือ? Brand Essence - Brand Promise - Brand Identity
- Influencer กับการออกแบบ Brand Identity ให้สร้างการจดจำ
- การเตรียมข้อมูลแบบมือโปร ที่ Brand อยากวิ่งหา
Friday Jul 24, 2020
Friday Jul 24, 2020
ในชั่วโมงการทำงานแต่ละวันของบริษัทหรือแบรนด์ ก็ต้องการให้พนักงานทำงานและดูแลหน้าที่หลักของตนให้เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีบางบริษัท ที่ให้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานพนักงานในการทำอะไรก็ได้ เพื่อให้ทุกคนได้ลองผิด ลองถูก พัฒนาอะไรก็ได้ เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา
Monday Jul 13, 2020
Monday Jul 13, 2020
ในกระบวนการสร้างแบรนด์ สิ่งที่ทุกแบรนด์ควรให้ความสำคัญ คือ “Brand DNA” เป็น “ตัวตน” ของแบรนด์ที่มาจากหลายองค์ประกอบผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นเป้าประสงค์ของแบรนด์, บุคลิกของแบรนด์, ภาพลักษณ์, ตำแหน่งของแบรนด์, กลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ
แบรนด์ไหนที่มี Brand DNA แข็งแรง ผู้บริโภคย่อมให้คุณค่ากับแบรนด์นั้นๆ สูง และจดจำแบรนด์นั้นได้ในระยะยาว ยิ่งแบรนด์ไหนที่พัฒนาสินค้า-บริการโดนใจ สร้างประสบการณ์อันน่าประทับใจ พร้อมทั้งสื่อสาร และตอกย้ำถึง Brand DNA ของตนอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ตามมาคือ แบรนด์นั้นจะกลายเป็น Top of Mind ของผู้บริโภค
เพื่อทำความเข้าใจ Brand DNA ให้ลึกซึ้งขึ้น Marketing Oops! Podcast รายการ Brand Life ตอนนี้จึงยกเคสที่เกี่ยวกับ “Brand DNA”
- งานวิจัยที่ว่าด้วย Brand DNA สัมพันธ์กับการตั้งราคาอย่างไร และทำไมผู้บริโภคถึงยอมจ่ายเงินแพงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ที่ดีกว่า
- กรณีศึกษา “ไทยประกันชีวิต” ที่มองว่าการสร้างแบรนด์ เปรียบเสมือนการปรุงส่วนผสมของวิสกี้ชั้นดี ต้องมีทั้ง Functional – Emotional ที่สอดคล้องกัน
Monday Jul 06, 2020
Monday Jul 06, 2020
China Market Insights Episode 13 ว่าด้วยเรื่อง “ระบบโลจิสติกส์” หลากหลายวิธีส่งสินค้าจากไทย ไปจีนว่า วิธีไหนส่งได้เร็ว ง่าย และคุ้มค่า ?!
การขายสินค้าไปยังประเทศจีน ใช่ว่าจะมีแต่ผ่านช่องทาง “อีคอมเมิร์ซ” เท่านั้น ยังมีอีก 2 วิธีที่ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือแบรนด์นิยมใช้กัน คือ
- Daigou (代购) รับฝากหิ้วสินค้าจากต่างประเทศ เข้าจีน
- ใช้ Distributor ในจีน
ขณะที่ “โลจิสติกส์” ใช้ขนส่งสินค้าจากไทย ไปยังจีน ประกอบด้วย
- “เรือ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลานาน
- “เครื่องบิน” แพง แต่เร็ว
- “ทางรถ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลา และเสี่ยงสินค้าถูกกัก เพื่อตรวจสอบทั้งตู้คอนเทนเนอร์
Tuesday Jun 30, 2020
Tuesday Jun 30, 2020
Marketing Oops! Podcast รายการ MarTech : Consumer Insights ตอนล่าสุดว่าด้วยเรื่อง “เข้ามหาวิทยาลัย คือ เกิดใหม่ต้องปังกว่าเดิม” เป็นการศึกษาวิเคราะห์มุมมอง ความคิด และการใช้ชีวิตของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน ที่กำลังอยู่ในช่วงชีวิตนิสิต-นักศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อน
- ค่านิยมเลือกมหาวิทยาลัยดังในกรุงเทพฯ ลดลง – หันไปเลือกมหาวิทยาลัยใกล้บ้านมากขึ้น
- “ภาษาอังกฤษ” สร้างความมั่นใจ และสร้างโอกาส
- ทำ “ศัลยกรรม” เสริมรูปลักษณ์ให้ดูดี เพื่อความมั่นใจ
- เริ่มทดลองใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่
- สนใจเรื่องการเมือง เพราะการเมืองในวันนี้ คือ อนาคตของพวกเขาในวันข้างหน้า
- หารายได้พิเศษ รองรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
- หาเงินเก่ง แต่ก็ใช้เงินเก่งด้วย!
เมื่อ Insights คนรุ่นใหม่เป็นเช่นนี้ ในมุมมองของ “แบรนด์” ควรทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา และปรับวิธีการสื่อสาร เช่น อาจพูดกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ถึงอนาคตที่มีความมั่นคง และปรับวิธีการเข้าหาผ่านทั้งช่องทาง Offline หรือ Online
Friday Jun 19, 2020
Friday Jun 19, 2020
Marketing Oops! Podcast รายการ Brand Life ตอนนี้ว่าด้วยแนวคิด “คาถาแปลงร่างสินค้า” เพื่อสร้าง “คุณค่าเพิ่ม” และ “มูลค่าเพิ่ม” ให้กับผลิตภัณฑ์ และแบรนด์
มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นเรื่องของคาถาแปลงร่างผลิตภัณฑ์ในมิติที่ต่างกันไป..
แต่สุดท้ายได้ผลเหมือนกัน คือเกิดปรากฏการณ์สร้างยอดขายถล่มทลายได้จริงๆ ดังกรณีศึกษาของ 2 เรื่องราวนี้
- จากลูกชิ้นธรรมดา สู่การสร้างคุณค่าเพิ่มด้วยการสร้างสรรค์ “ลูกชิ้นแห่งการเฉลิมฉลองเอกราช 50 ปี” ประเทศสิงคโปร์
- เปลี่ยนเศษวัสดุจากการบูรณะเทพีเสรีภาพ ที่มหานครนิวยอร์ก สู่การครีเอทเป็น “ของที่ระลึก” ที่มีเรื่องราว ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในชิ้นงานที่ขายดี และแตกต่างจากของที่ระลึกอื่น
Saturday Jun 13, 2020
Saturday Jun 13, 2020
Marketing Oops! Podcast รายการ MarTech : Consumer Insights ได้สรุปเทรนด์ในประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้อง #StayHome ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ถี่ขึ้น – เร็วขึ้น เช่น
- ถึงจะ Work From Home แต่ “การแต่งหน้า” ยังเป็นเรื่องสำคัญ
- ออกกำลังกาย – สังสรรค์บนออนไลน์
- ดูหนังผ่าน “Video Streaming”
- เกิด “Alumni Marketplace” บน Facebook Group
- “หม้อทอดไร้น้ำมัน” ของมันต้องมี!
- เรียนรู้ “ทักษะใหม่”
- Check-in สถานที่ปลดล็อค
แต่ด้วยความที่เทรนด์ในสังคมเกิดขึ้นแบบมาไวไปไว โดยเฉพาะบนออนไลน์ ทำให้ในบางครั้งนักการตลาด หรือแบรนด์ไม่สามารถอัพเดทได้ทัน หากเป็นเช่นนี้ นักการตลาด - แบรนด์ควรพลิกจาก “ตามเทรนด์” ไปเป็น “ผู้สร้างเทรนด์” และให้สังคมตามในสิ่งที่เราครีเอทขึ้น
Monday Jun 08, 2020
Monday Jun 08, 2020
ในช่วง 2 – 3 เดือนมานี้ คำว่า “New Normal” หรือ “ความปกติใหม่” เป็นหนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงกันในวงกว้าง เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภค หรือวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ “COVID-19” ที่เป็นทั้ง “ตัวเร่ง” ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น หรือเป็น “ตัวสร้าง” พฤติกรรม หรือวิถีชีวิตใหม่ๆ จนสิ่งนั้นกลายเป็น “ความปกติ” หรือ “ความคุ้นชิน” ของชีวิตประจำวัน
แต่ภายใต้ New Normal มากมาย ในอีกมุมหนึ่งผู้คนก็ยังแสวงหา “Old Normal” หรือวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ที่เคยเป็นมา
Marketing Oops! Podcast รายการ MarTech : Consumer Insights ดำเนินรายการโดย “คุณณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์” และ “คุณแพน จรุงธนาภิบาล” จาก GroupM จะพาไปค้นคำตอบว่า วิถีชีวิตไหน จะเป็น “New Normal” หรือ “Old Normal” กันแน่ ?! และนักการตลาด ควรจับโอกาสในพฤติกรรม – วิถีชีวิตของผู้บริโภคอย่างไร